บทที่
5
การประมาณค่า
(Estimation)
1. การประมาณค่าแบบจุด
(Point Estimation)
เป็นการประมาณค่าพารามิเตอร์ของประชากรด้วยค่าเพียงค่าเดียว
(Single
valued Estimation หรือ Point Estimation) ซึ่งการประมาณค่าแบบนี้อาจจะมีค่าเท่ากับค่าพารามิเตอร์หรืออาจมีโอกาสที่จะได้ค่าที่คาดเคลื่อนไปจากค่าพารามิเตอร์ได้มาก
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหน่วยตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์
(ถ้าหน่วยตัวอย่างนั้นได้มาจากการสุ่มตัวอย่าง
ก็จะสามารถควบคุมความคลาดเคลื่อนได้ระดับหนึ่ง)
หมายเหตุ การประมาณค่าพารามิเตอร์ซึ่งเป็นลักษณะของประชากรโดยใช้ข้อมูลตัวอย่าง หรือทำการประมาณค่าพารามิเตอร์ด้วยค่าสถิติ สัญลักษณ์ที่ใช้แทนค่าพารามิเตอร์และค่าสถิติ เช่น
หมายเหตุ การประมาณค่าพารามิเตอร์ซึ่งเป็นลักษณะของประชากรโดยใช้ข้อมูลตัวอย่าง หรือทำการประมาณค่าพารามิเตอร์ด้วยค่าสถิติ สัญลักษณ์ที่ใช้แทนค่าพารามิเตอร์และค่าสถิติ เช่น
ค่าที่ประมาณได้จากการประมาณค่าแบบจุด จะมีลักษณะเป็นตัวเลขประมาณค่าเดียว
เรียกเป็น ค่าประมาณ (estimate) เช่น
ประมาณค่าเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยโรคหอบที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลสุโขทัย
เท่ากับ 4,950 บาท
2. การประมาณค่าแบบช่วง (Interval
Estimation)
ช่วงความเชื่อมั่น (confidence interval) หมายถึง ช่วงของค่าประมาณที่ประกอบไปด้วยค่าต่ำสุด (a) และค่าสูงสุด (b) ที่คำนวณขึ้นมา
ช่วงดังกล่าวจะคลุมค่าของพารามิเตอร์ ด้วยความน่าจะเป็นตามที่กำหนด ตัวอย่างเช่น
ช่วงความเชื่อมั่น 90% ของค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคหอบที่มารับการรักษา
ในโรงพยาบาลสุโขทัย อยู่ระหว่าง 3,370 - 6,480.-บาท
หมายถึงว่า “มีความมั่นใจ 90% ที่ช่วงของการประมาณค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยที่ได้
(3,370 - 6,480.-บาท)
จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าเฉลี่ยจริงของผู้ป่วย” ที่ระดับบความเชื่อมั่นนี้
จะเขียนแทนด้วยสัญญลักษณ์ (1-α)100%
โดยที่ 0 < α
< 1 และเรียกค่า 1-α ว่า สัมประสิทธิ์ของความเชื่อมั่น (confidence coefficient)
การประมาณค่าเฉลี่ยของประชากร
1.การประมาณค่าเฉลี่ยของประชากรกลุ่มเดียว
การประมาณค่าเฉลี่ยของประชากรกลุ่มเดียวแบบจุด
การประมาณค่าเฉลี่ยของประชากรกลุ่มเดียวแบบจุด
Ex.1 จากการสอบถามอายุของนักเรียนกลุ่มหนึ่งเป็นดังนี้
14
, 16 , 14 , 17 , 16 , 14 , 18 , 17 จงประมาณค่าเฉลี่ยเลขคณิตของอายุนักเรียนกลุ่มนี้
วิธีทำ
วิธีทำ
การประมาณค่าเฉลี่ยของประชากรกลุ่มเดียวแบบช่วง
Ex.2 นักวิจัยผู้หนึ่ง
ต้องการศึกษาระยะการตั้งครรภ์ของประชาชนในเขตอำเภอรอบนอกของจังหวัดสุโขทัย
จึงทำการสุ่มตัวอย่างมารดาที่มาฝากครรภ์และคลอดบุตรที่โรงพยาบาล จำนวน 100 ราย พบว่ามีค่าเฉลี่ยระยะการตั้งครรภ์เป็น 275 วัน
หากทราบว่าโดยทั่วไปทารกจะมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของระยะการตั้งครรภ์เป็น 10
วัน จงประมาณระยะการตั้งครรภ์เฉลี่ยของประชาชนนี้
(กำหนดระดับความเชื่อมั่น 95%)
ที่ระดับความเชื่อมั่น
95% ของระยะการตั้งครรภ์เฉลี่ยของประชาชน มีค่าอยู่ระหว่าง 273.04-276.96
(หรือ 274-276 วัน)
บทที่
8
การทดสอบสมมติฐาน
(Hypothesis
Testing)
การทดสอบสมมติฐาน (Hypothesis Testing) เป็นส่วนหน่ึงของสถิติเชิงอนุมาน
(Statistical Inference) ซ่ึงเป็นการทดสอบเกี่ยวกับพารามิเตอร์ที่ไม่ทราบค่า
โดยสุ่มตัวอย่างจากประชากรแล้ว อาศัยการแจกแจงของตัวสถิติ
สร้างสถิติทดสอบเกี่ยวกับพารามิเตอร์น้ันๆ
ศัพท์ที่ควรรู้ในการทดสอบสมมติฐาน
ในการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับพารามิเตอร์ที่ไม่ทราบค่าใดๆ
จึงควรรู้จัก ความหมายหรือนิยามของ คำศัพท์ต่างๆ ดังติอไปนี้
1. สมมติฐาน คือ ความเชื่อหรือคำกล่าวอ้างยืนยันเกี่ยวกับลักษณะของประชากร ซ่ึงอาจมีเพียงประชากรเดียวหรือหลายประชากรก็ได้
2. สมมติฐานที่จะทดสอบ เรียกว่า สมมติฐานหลัก (Null Hypothesis) เขียนแทนด้วย H0 สมมติฐานที่แย้งกับสมมติฐานหลัก และนำมาพิจารณาในการทดสอบด้วย เรียกว่า สมมติฐานแย้ง หรือสมมติฐานรอง (Alternative Hypothesis) ซ่ึงแทนด้วย H1
3. บริเวณยอมรับ (Acceptance region) คือบริเวณที่ทำให้ เกิดการยอมรับ H0 ส่วน บริเวณปฏิเสธ (Rejection region) หรือบริเวณวิกฤต (Critical region) คือบริเวณที่ทำให้เกิดการ ปฏิเสธ H0
4. ผลการตัดสินใจจากการทดสอบสมมติฐาน เน่ืองจากสมมติฐานที่จะทดสอบ ( H0 ) เป็นความเชื่อ หรือคำยืนยันเกี่ยวกับลักษณะของ ประชากรซื่งยังไม่สามารถบอกได้วาเป็น่จริงหรือเท็จ จนกว่าจะทำการพิสูจน์โดยเก็บรวบรวม ข้อมูลท้ังหมด มาวิเคราะห์ตามลักษณะของประชากรที่ต้องการพิสูจน์น้ัน ซึ่งบางคร้ังการเก็บรวมรวมข้อมูลทั้งหมดจากประชากรเป็นสิ่งที่ทำได้ยากเพราะต้องเสียค่าใช้จ่าย และเวลามาก จึงทำได้เพียงการสำรวจจากตัวอย่าง เพื่อทำการทดสอบเท่าน้ันเอง ดังน้ันผลการตัดสินใจจากการทดสอบ สมมติฐานใดๆ สามารถสรุปได้ ดังตาราง
1. สมมติฐาน คือ ความเชื่อหรือคำกล่าวอ้างยืนยันเกี่ยวกับลักษณะของประชากร ซ่ึงอาจมีเพียงประชากรเดียวหรือหลายประชากรก็ได้
2. สมมติฐานที่จะทดสอบ เรียกว่า สมมติฐานหลัก (Null Hypothesis) เขียนแทนด้วย H0 สมมติฐานที่แย้งกับสมมติฐานหลัก และนำมาพิจารณาในการทดสอบด้วย เรียกว่า สมมติฐานแย้ง หรือสมมติฐานรอง (Alternative Hypothesis) ซ่ึงแทนด้วย H1
3. บริเวณยอมรับ (Acceptance region) คือบริเวณที่ทำให้ เกิดการยอมรับ H0 ส่วน บริเวณปฏิเสธ (Rejection region) หรือบริเวณวิกฤต (Critical region) คือบริเวณที่ทำให้เกิดการ ปฏิเสธ H0
4. ผลการตัดสินใจจากการทดสอบสมมติฐาน เน่ืองจากสมมติฐานที่จะทดสอบ ( H0 ) เป็นความเชื่อ หรือคำยืนยันเกี่ยวกับลักษณะของ ประชากรซื่งยังไม่สามารถบอกได้วาเป็น่จริงหรือเท็จ จนกว่าจะทำการพิสูจน์โดยเก็บรวบรวม ข้อมูลท้ังหมด มาวิเคราะห์ตามลักษณะของประชากรที่ต้องการพิสูจน์น้ัน ซึ่งบางคร้ังการเก็บรวมรวมข้อมูลทั้งหมดจากประชากรเป็นสิ่งที่ทำได้ยากเพราะต้องเสียค่าใช้จ่าย และเวลามาก จึงทำได้เพียงการสำรวจจากตัวอย่าง เพื่อทำการทดสอบเท่าน้ันเอง ดังน้ันผลการตัดสินใจจากการทดสอบ สมมติฐานใดๆ สามารถสรุปได้ ดังตาราง
ตารางผลการตัดสินใจจากการทดสอบสมมติฐาน
การตัดสินใจ
|
ข้อเท็จจริง
|
|
H0 เป็นจริง
|
H0 เป็นเท็จ
|
|
ปฏิเสธ
H0
|
ความผิดพลาดประเภทที่
1
|
ตัดสินใจถูก
|
ยอมรับ
H0
|
ตัดสินใจถูก
|
ความผิดพลาดประเภทที่
2
|
ผลการทดสอบไม่ว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐานหลัก ย่อมอาจมีความผิดพลาด เกิดขึ้นได้ 2 กรณีเสมอ คือ
1) การปฏิเสธ H0 เมื่อ H0 เป็นจริง เรียกว่า ความผิดพลาดประเภทที่ 1
2) การยอมรับ H0 เม่ือ H0 เป็นเท็จ เรียกว่า ความผิดพลาดประเภทที่ 2
5. ขนาดของความผิดพลาดประเภทที่1 (Size of a type Ι error) คือ ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความผิดพลาดประเภทที่ 1 เขียนแทนด้วย α เราเรียกว่า ระดับนัยสำคัญ (Level of significant ) และขนาดของความผิดพลาดประเภทที่ 2 (Size of a type ΙΙ error) คือ ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความผิดพลาดประเภทที่ 2 แทนด้วย β และเรียก 1-β ว่า กำลังของการทดสอบ (Power of the test) ในการทดสอบสมมติฐานผู้ทดสอบต้องพยายามควบคุมความผิดพลาดท้ังสองประเภทให้มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยท่ีสุดแต่ขนาดของความผิดพลาดสองประเภทนี้สวนทางกัน กล่าวคือ ถ้า α มีค่ามากแล้ว β จะมีค่าน้อย การควบคุมความผิดพลาดท้ังสองประเภทนี้สามารถลดลงได้ถ้าเพิ่มขนาดตัวอย่างให้มากขึ้น
ประเภทของการทดสอบสมมติฐาน
ในการทดสอบสมมติฐานใดๆ เราจะยอมรับว่าสมมติฐานหลักเป็นจริงก่อน
จึงทำการสุ่ม ตัวอย่างและคำนวณค่าสถิติที่ได้จากตัวอย่างที่สุ่ม
ถัาค่าสถิติที่ใช้ในการทดสอบน้ันแตกต่างจาก พารามิเตอร์ที่กำหนดใน H0 มากเพียงพอที่จะปฏิเสธ H0 เราจึงจะปฏิเสธ
H0 หรือกล่าวว่าแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญ
เมื่อพิจารณาความแตกต่างดังกล่าว จะพบว่ามี 2 แบบคือ
1. แตกต่างอย่างมีทิศทาง คือ ค่าพารามิเตอร์ที่แท้จริงมากกว่าค่าพารามิเตอร์ที่กำหนดใน H0 และอีกกรณีคือ ค่าพารามิเตอร์ที่แท้จริงน้อยกว่าค่าพารามิเตอร์ท่ีกำหนดใน H0
2. แตกต่างแบบไม่มีทิศทาง คือ ค่าพารามิเตอร์ที่แท้จริงมีค่าไม่เท่ากับค่าพารามิเตอร์ที่กำหนดใน H0
โดยความแตกต่างท้ัง 2 แบบนี้จะเขียนอยู่ในสมมติฐานแย้ง (H1 ) ถ้าทดสอบสมมติฐาน แบบมีทิศทางจะเรียกว่าการทดสอบแบบทางเดียว แต่ถ้าทดสอบสมมติฐาน แบบไม่มีทิศทางจะ เรียกว่า การทดสอบแบบสองทาง
การทดสอบแบบทางเดียว ( One - Tailed Test )
ให้ θ เป็นพารามิเตอร์ ที่ต้องการทดสอบ และให้ θ 0 เป็นค่าคงที่ที่ต้องการทดสอบหรือเป็นค่าพารามิเตอร์ท่ีคาดหวังไว้ นั้นเอง สมมติฐานที่จะทดสอบอยู่ในลักษณะ
1. H0 : θ = θ 0
H1 : θ > θ0
เมื่อยอมรับว่า H0 เป็นจริงก่อน บริเวณปฏิเสธ H0 จะอยู่ปลายหางทางขวา ของการแจกแจงของตัวสถิติที่ใช้ทดสอบ ( )
1. แตกต่างอย่างมีทิศทาง คือ ค่าพารามิเตอร์ที่แท้จริงมากกว่าค่าพารามิเตอร์ที่กำหนดใน H0 และอีกกรณีคือ ค่าพารามิเตอร์ที่แท้จริงน้อยกว่าค่าพารามิเตอร์ท่ีกำหนดใน H0
2. แตกต่างแบบไม่มีทิศทาง คือ ค่าพารามิเตอร์ที่แท้จริงมีค่าไม่เท่ากับค่าพารามิเตอร์ที่กำหนดใน H0
โดยความแตกต่างท้ัง 2 แบบนี้จะเขียนอยู่ในสมมติฐานแย้ง (H1 ) ถ้าทดสอบสมมติฐาน แบบมีทิศทางจะเรียกว่าการทดสอบแบบทางเดียว แต่ถ้าทดสอบสมมติฐาน แบบไม่มีทิศทางจะ เรียกว่า การทดสอบแบบสองทาง
การทดสอบแบบทางเดียว ( One - Tailed Test )
ให้ θ เป็นพารามิเตอร์ ที่ต้องการทดสอบ และให้ θ 0 เป็นค่าคงที่ที่ต้องการทดสอบหรือเป็นค่าพารามิเตอร์ท่ีคาดหวังไว้ นั้นเอง สมมติฐานที่จะทดสอบอยู่ในลักษณะ
1. H0 : θ = θ 0
H1 : θ > θ0
เมื่อยอมรับว่า H0 เป็นจริงก่อน บริเวณปฏิเสธ H0 จะอยู่ปลายหางทางขวา ของการแจกแจงของตัวสถิติที่ใช้ทดสอบ ( )
2. H0 : θ = θ0
H1 : θ < θ0
เมื่อยอมรับว่า H0 เป็นจริงก่อน บริเวณปฏิเสธ H0 จะอยู่ปลายหางด้านซ้าย ของการแจกแจงของตัวสถิติที่ใช้ทดสอบ ( )
H1 : θ < θ0
เมื่อยอมรับว่า H0 เป็นจริงก่อน บริเวณปฏิเสธ H0 จะอยู่ปลายหางด้านซ้าย ของการแจกแจงของตัวสถิติที่ใช้ทดสอบ ( )
บริเวณวิกฤตของการทดสอบจะอยู่ด้านซ้ายและมีค่าเป็นลบ
การทดสอบแบบทางสองทาง ( Two - Tailed Test )
ให้ θ เป็นพารามิเตอร์ที่ต้องการทดสอบ และให้ θ< θ0 เป็นค่าคงที่ที่ต้องการทดสอบหรือเป็นค่าพารามิเตอร์ที่คาดหวังไว้ สมมติฐานที่จะทดสอบจะอยู่ในลักษณะ
H0 : θ = θ0
H1 : θ θ0
เมื่อยอมรับว่า H0 เป็นจริงก่อน บริเวณปฏิเสธ H0 จะอยู่ปลายหางทั้งสองข้าง ของการแจกแจงของตัวสถิติที่ใช้ทดสอบ ( )
ให้ θ เป็นพารามิเตอร์ที่ต้องการทดสอบ และให้ θ< θ0 เป็นค่าคงที่ที่ต้องการทดสอบหรือเป็นค่าพารามิเตอร์ที่คาดหวังไว้ สมมติฐานที่จะทดสอบจะอยู่ในลักษณะ
H0 : θ = θ0
H1 : θ θ0
เมื่อยอมรับว่า H0 เป็นจริงก่อน บริเวณปฏิเสธ H0 จะอยู่ปลายหางทั้งสองข้าง ของการแจกแจงของตัวสถิติที่ใช้ทดสอบ ( )
ขั้นตอนการทดสอบสมมติฐาน
ข้ันตอนการทดสอบสมมติฐานทางสถิติมีดังนี้
1. ต้ังสมมติฐานหลัก (H0 ) และสมมติฐานทางเลือก (H1 ) ให้มีความหมายตรงข้ามกันเสมอ
2. กำหนดระดับนัยสำคัญ α
3. เลือกตัวสถิติทดสอบท่ีเหมาะสม แล้วหาจุดวิกฤตเพื่อกำหนดบริเวณปฏิเสธ H0 ให้ สอดคล้องกับ H0 และ α
4. คำนวณค่าสถิติที่ใช้ทดสอบจากตัวอย่างขนาด n ที่สุ่มมา
5. ตัดสินใจยอมรับหรือปฏิเสธ H 0 โดยพิจารณาจากเงื่อนไขนี้ ถ้าค่าสถิติทดสอบที่คำนวณได้จากข้ันตอนที่ 4 ตกอยู่ในบริเวณยอมรับ เราจะตัดสินใจยอมรับ H 0 แต่หากตกอยู่บริเวณปฏิเสธ จะตัดสินใจปฏิเสธ H0
6. สรุปผล
1. ต้ังสมมติฐานหลัก (H0 ) และสมมติฐานทางเลือก (H1 ) ให้มีความหมายตรงข้ามกันเสมอ
2. กำหนดระดับนัยสำคัญ α
3. เลือกตัวสถิติทดสอบท่ีเหมาะสม แล้วหาจุดวิกฤตเพื่อกำหนดบริเวณปฏิเสธ H0 ให้ สอดคล้องกับ H0 และ α
4. คำนวณค่าสถิติที่ใช้ทดสอบจากตัวอย่างขนาด n ที่สุ่มมา
5. ตัดสินใจยอมรับหรือปฏิเสธ H 0 โดยพิจารณาจากเงื่อนไขนี้ ถ้าค่าสถิติทดสอบที่คำนวณได้จากข้ันตอนที่ 4 ตกอยู่ในบริเวณยอมรับ เราจะตัดสินใจยอมรับ H 0 แต่หากตกอยู่บริเวณปฏิเสธ จะตัดสินใจปฏิเสธ H0
6. สรุปผล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น