บทที่ 7 การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์

7.การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์(Correlation  Analysis)   
                ค่าสหสัมพันธ์  ( Correlation  )  เป็นสถิติที่ใช้หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร  เช่น หาค่าสหสัมพันธ์ระหว่างเจตคติวิชาคณิตศาสตร์ กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  หาความสัมพันธ์ระหว่างขวัญและกำลังใจในการทำงานกับประสิทธิภาพในการทำงาน  เป็นต้น  ซึ่งค่าสหสัมพันธ์ที่คำนวณได้  เรียกว่า  ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ ( Correlation    coefficient  )   ซึ่งสถิติสำหรับการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์มีหลายชนิด  ซึ่งการเลือกใช้แบบใดนั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหลายประการ
                ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองตัว  ( Bivariate   Correlation  )  บางครั้งเราเรียกว่าตัวแปรอิสระว่า ตัวแปรทำนาย  ( Predictor  variable )  และเรียกตัวแปรอีกตัวว่าตัวแปร  เกณฑ์ ( Criterion   variable ) ( Diekhoff . 1992  : 211 )  ซึ่งโดยปกติจะเป็นตัวแปรตาม  อย่างไรก็ตามการที่จะทราบว่าตัวแปรทำนายตัวแปรใดเป็นตัวแปรเกณฑ์ ขึ้นอยู่กับงานวิจัยนั้นๆ  ในการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร  ถ้าหากทั้งสองตัวแปรมีระดับการวัดอันตรภาค ( Interval  scale ) หรืออัตราส่วน ( Ration  scale ) จะเรียกว่าการวิเคราะห์โดยใช้พาราเมทริก ( Parametric  procedure )  แต่ถ้ามีระดับการวัดมาตรานามบัญญัติ  ( Nominal  scale )  หรือมาตราเรียงอันดับ(Ordinal  scale  )  จะเรียกว่า  การวิเคราะห์แบบไม่ใช้พาราเมทริก ( Nonparametric  procedure )
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน( Pearson  ‘ s  Correlation   Coefficient 
                การคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียรสัน หรือบางครั้งเรียกว่า  สหสัมพันธ์อย่างง่าย ( Simple  Correlation  )  โดยใช้สัญลักษณ์  r   ข้อมูลหรือระดับการวัดของตัวแปรแต่มาตราอันตรภาค  ถึง มาตราอัตราส่วน  โดยการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรนั้นมักจะใช้สัญลักษณ์ของตัวแปรเป็นตัวแปร  และ  โดยค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน ( )  จะมีคุณสมบัติดังนี้  ( www. Richlaad.ec.il .us./james/ lecture / mi>o/chll-cor.html/31  กันยายน  / 2547  ) 
                1.ถ้า  เป็นการวัดความสัมพันธ์เชิงเส้น
                2.ถ้า  r  จะอยู่ระหว่าง  -1   ถึง  1  
                3.ถ้า  จะมีลักษณะเหมือนความชันของเส้นการถดถอย
                4.ถ้า  จะไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อตัวแปรอิสระ  (  )  และตัวแปรตาม  ( )  เปลี่ยนไปแบบเดียวกัน
                5.ถ้า จะไม่เปลี่ยนแปลงถ้าค่าสเกล (  scale  )  ของตัวแปรใดตัวแปรหนึ่งเปลี่ยนไป  ( ค่าของตัวแปร  X   หรือ 
                6.ถ้า  r   มีการแจกแจงแบบเดียวกันกับที(  Student  t   distribution 
ทิศทางของความสัมพันธ์( Direction  of  the   Relationship 
                ในการหาลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรนั้นเราสามารถสร้างแผนภาพกระจัดกระจาย  ( Scattertplot )  เพื่อดูทิศทางของความสัมพันธ์ได้  โดยมีลักษณะความสัมพันธ์  3  แบบ  คือ
                1.สหสัมพันธ์ทางบวก  (  Positive  Corretations)  ซึ่งหมายความว่าเมื่อตัวแปรตัวหนึ่งเพิ่มหรือลดลงอีกตัวแปรหนึ่งก็จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงไปด้วย
                2. สหสัมพันธ์ทางลบ  ( Negative  Corretations )  หมายถึงเมื่อตัวแปรตัวหนึ่งมีค่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงอีกตัวหนึ่งจะมีค่าเพิ่มหรือลดลงตรงข้ามเสมอ                  3. สหสัมพันธ์เป็นศูนย์  ( Zero  Corretations )    หมายถึงตัวแปรสองตัวไม่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

 











ภาพประกอบ    ลักษณะของกราฟที่ค่า r = 1, .5 , 0, -.5  และ -1  ตามลำดับ

ลักษณะของสมมติฐานที่ทดสอบ( Hypothesis  testing 
ในการทดสอบนั้นเป็นการทดสอบว่าตัวแปรสองตัวมีความสัมพันธ์กันหรือไม่  เป็นการทดสอบว่าตัวแปรสองตัวมีความสัมพันธ์เชิงเส้น ซึ่งเราจะใช้ตัวอักษรภาษากรีก  คือ   ( rho )  แทน  ซึ่งเขียนเป็นสมมติฐานทางสถิติ  ได้ดังนี้

ตัวอย่าง  สมมติบานการวิจัย  เจตคติต่อวิชาการวิจัยทางการศึกษามีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการวิจัยทางการศึกษา
-  ความวิตกกังวลมีความสัมพันธ์กับความเครียดในการทำงาน               

-  ขวัญและกำลังใจในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการปฏิบัติงาน

-  ความเครียดในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางลบกับความพึงพอใจในการทำงาน


การคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน  ( Computing  the  Pearsour )
ในการคำนวณหาค่า  r   สามารถคำนวณได้หลายวิธี  ดังนี้
        
เป็นสูตรที่คำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์โดยใช้คะแนนมาตรฐาน  โดยเราดัดแปลงคะแนน X และ จากคะแนนดิบให้เป็นคะแนนมาตรฐาน   เสียก่อน

               
       
                                             
               
เมื่อคำนวณค่า r แล้วผู้วิจัยอาจต้องทราบว่าค่าสหสัมพันธ์ที่คำนวณได้นั้นมีนัยสำคัญทางสถิติหรือไม่สามารถทำได้โดยนำค่า r ไปคำนวณเป็นค่าสถิตจิที (t-test)

                                  
โดยมีค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ n-2 ซึ่งค่า t ที่คำนวณได้นำไปเทียบกับค่าวิกฤตของทีได้จากตารางวิกฤตหรือสามารถเทียบได้กับตารางค่าวิกฤตของค่าสหสัมพันธ์เพียร์สันได้โดยตรงโดยใช้ค่า df = n-2
โดยถ้าค่า r ที่คำนวณได้มีค่ามากกว่าค่าวิกฤตแสดงว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าที่ไปเทียบนี้ไม่ต้องคิดเครื่องหมาย)

ตัวอย่างการคำนวณหาค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน
                นักวิจัยต้องการทราบว่าความพึงพอใจในการทำงานมีความสัมพันธ์กับผลการปฎิบัติงานหรือไม่  จึงทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากครู-อาจารย์จำนวน  15  คน  ซึ่งได้ข้อมูลดังนี้



คนที่
ความพึงพอใจ (X)
ผลการปฏิบัติงาน (Y)
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
3
2
2
5
3
4
2
3
4
1
5
2
3
4
3
3
2
3
4
3
4
1
3
4
2
4
2
3
4
5


ขั้นตอนการคำนวณ
                ผู้วิจัยต้องทราบสมมติฐานการวิจัยก่อน  ซึ่งจากปัญหาการวิจัยข้างต้น  สามารถตั้งสมมติฐานได้ว่า ความพึงพอใจในการทำงานมีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงาน
1.  สมมติฐานทางสถิติ
          
2.  กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ (a= .01
3.  คำนวณค่า  r
จากข้อมูล  เราต้องคำนวณค่า  x^2 y^2 และ (xy)^2



คนที่
X
Y
X2
Y2
XY
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
3
2
2
5
3
4
2
3
4
1
5
2
3
4
3
2
2
3
4
3
4
1
2
4
2
4
2
3
3
4
9
4
4
25
9
16
4
9
16
1
25
4
9
16
9
4
4
9
16
9
16
1
4
16
4
16
4
9
9
16
6
4
6
20
9
16
2
6
16
2
20
4
9
12
12

å
46
44
160
137
144

       
    

          
4.  ทดสอบนัยสำคัญทางสถิติ  โดยคำนวณค่า t
                      
                นำค่า t ที่คำนวณเทียบค่า t วิกฤตที่ได้จากตาราง (เนื่องจากเป็นสมมติฐานที่ไม่มีทิศทางจึงเป็น  a-tailed)  ที่ a   พบว่า    จึงเห็นว่า
 tคำนวณ  > tวิกฤต  จึงปฎิเสธH0  และยอมรับ H1
                ในการทดสอบนัยสำคัญทางสถิติยังสามารถนำค่า  r  ที่คำนวรได้ไปเทียบกับค่าวิกฤตของ r ได้จากตารางค่าวิกฤตของสหสัมพันธ์เพียร์สันได้โดยตรง  จากตารางพบว่า  rวิกฤต  มีที่  a=0.1 df.= 13  ที่มีค่าเท่ากับ  .6411  ซึ่งจะเห็นว่าค่า rคำนวณ  มากว่าค่า  rวิกฤต  จึงปฏิเสธHo และยอมรับ  H1  เช่นเดียวกัน
5.  แสดงว่าความพึงพอใจในการทำงานมีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01



                                                                               


                                                

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น